เรื่อง การเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมส์การศึกษาและเพลง
กับ การจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู งานวิทยานิพนธ์โดย นางสุธีรา ท้าวเวชสุวรรณ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
จากการศึกษาและสัมภาษณ์ครูผู้สอนในชั้นอนุบาลของโรงเรียนตัวอย่างนั้น
ได้พบปัญหาในเรื่อง เด็กปฐมวัยมีความพร้อมทางด้านคณิตศาสตร์ในเรื่อง
การนับสิ่งต่างๆ การเปรียบเทียบ การนับเพิ่ม-ลดจำนวน อยู่ในระดับต่ำ
ควรที่จะได้รับการพัฒนาเพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนชั้นต่อไป
โดยการพัฒนาเด็กปฐมวัยนั้นควรยึดจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2544
มาตรา22 ที่กำหนดแนวทางในการจัดการศึกษาไว้ว่า
การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และ ถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด
ฉะนั้นครูผู้สอนและผู้จัดการศึกษาจะต้องเปลี่ยนแปลง
บทบาท จากการเป็นผู้ชี้นำความรู้ไปเป็นผู้ช่วยเหลือ
ส่งเสริม และสนับสนุนผู้เรียนในการแสวงหาความรู้จากสื่อ แหล่งการเรียนรู้ต่างๆและให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ผู้เรียน
เพื่อนำความรู้ไปพัฒนาตนเองโดยในงานวิจัยชิ้นนี้จะใช้การการจัดประสบการณ์โดยการใช้เกมส์การศึกษาและเพลงมาเป็นการพัฒนาเด็กปฐมวัย
โดยการจัดประสบการณ์โดยการใช้เกมส์การศึกษาและเพลง
จะเป็นการเรียนรู้โดยใช้เพลง เกมส์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์มาใช้
เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนุกสนาน
โดยการจัดประสบการณ์แบบนี้จะช่วยพัฒนาเด็กได้ทั้งแบบรายบุคคลและกลุ่ม
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.เพื่อเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมส์การศึกษาและเพลง กับ การจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู
2.เพื่อศึกษาความคิดเห็นของเด็กปฐมวัย
ที่มีต่อการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมส์การศึกษาและเพลง กับ
การจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู
ขอบเขตของการวิจัย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1.ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่
นักเรียนชั้นอนุบาล2
ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา2547 โรงเรียนอนุบาลบาลกาญจนบุรี
สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาเขต1 จากนักเรียน6ห้องเรียน จำนวน180คน
2.กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่
นักเรียนชั้นอนุบาล2
ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา2547 โรงเรียนอนุบาลบาลกาญจนบุรี จำนวน2ห้องเรียน
จำนวน60คน ซึ้งได้จากการสุ่มตัวอย่างง่ายโดยใส่หมายเลขห้องเรียนทั้ง6ห้องได้แก่
อนุบาล2/1-2/6 แล้วจับฉลากขึ้นมาจำนวน2ห้องเรียน ได้แก่
ห้องอนุบาล2/4เป็นห้องทดลอง และห้องอนุบาล2/6เป็นห้องควบคุม
ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรอิสระ ได้แก่
1.การจัดประสบการณ์โดยใช้เกมส์การศึกษาและเพลง
2.การจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู
ตัวแปรตาม ได้แก่
1.ความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ประกอบด้วย
1.1การนับสิ่งต่างๆ
เช่น การนับ1-10
1.2การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง
เช่น การจับคู่ภาพกับจำนวน
1.3การเปรียบเทียบจำนวนมากกว่า
น้อยกว่า เท่ากับ เช่น การเปรียบเทียบจำนวนกับจำนวน หรือเปรียบเทียบจำนวนกับภาพ
1.4การนับจำนวนเพิ่ม-ลด
เช่น การบวกภาพ การลดภาพ
2.ความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมส์การศึกษาและเพลง
และการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย
1.แผนการจัดประสบการณ์โดยเกมส์การศึกษาและเพลงโดยครูเป็นผู้สร้างขึ้น
จำนวน20แผน เพลงคณิตศาสตร์8เพลง เวลาที่ใช้จัดประสบการณ์20คาบ
2.แผนการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู
จำนวน20แผน เกมส์การศึกษา20เกมส์ เวลาที่ใช้จัดประสบการณ์20คาบ
3.แบบประเมิณความพร้อมทางคณิตศาสตร์จำนวน20ข้อ
เรื่อง1.การนับสิ่งต่างๆ 2.การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง 3.การเปรียบเทียบจำนวนมากกว่า
น้อยกว่า เท่ากับ 4.การนับจำนวนที่เพิ่มขึ้นหรือน้อยลง ตามหน่วยการเรียน4หน่วย คือ
หน่วยผลไม้น่ากิน หน่วยผักสดสะอาด หน่วยสัตว์น่าเลี้ยง
หน่วยผีเสื้อแสนสวยและครอบคลุมเนื้อหาที่กำหนด
ก่อนการจัดประสบการณ์และหลังการจัดประสบการณ์
4.แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นที่มีต่อการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมส์การศึกษาและเพลงกับการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู
(แบบให้เลือกใบหน้า
เกี่ยวกับบรรยากาศ/ความพึงพอใจ/ประโยชน์ที่ได้รับโดยการสัมภาษณ์ นักเรียน)
สรุปผลการวิจัย
จากกการทำวิจัยสามารถสรุปผลการวิจัย
ได้ดังนี้
1.หลังการจัดประสบการณ์ของเด็กปฐมวัย
กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยความพร้อมทางคณิตศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ0.01
โดยความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
กลุ่มทดลองที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมส์การศึกษาและเพลงสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่จัดประสบการณ์ตามคู่มือครู
โดยเรื่องการจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง ได้คะแนนเฉลี่ยสูงสุด
ส่วนเรื่องการนับจำนวนเพิ่ม-ลดได้คะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด
2.ความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่2
ที่มีต่อการจัดประสบการณ์ทั้งสองแบบ พบว่า
เด็กกลุ่มทดลองที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมส์การศึกษาและเพลงโดยภาพรวมมีระดับความพอใจมากในทุกด้าน
โดยเรียงลำดับดังนี้
ลำดับที่1ด้านการจัดบรรยากาศ
คิดเป็นร้อยละ100.00 ลำดับที่2ด้านการจัดประสบการณ์ คิดเป็นร้อยละ96.00
ลำดับที่3ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดประสบการณ์ คิดเป็นร้อยละ95.5 และพบว่า
เด็กกลุ่มควบคุมที่จัดประสบการณ์ตามคู่มือครู มีความพึงพอใจ เรียงลำดับดังนี้
ลำดับที่1ด้านการจัดบรรยากาศ
คิดเป็นร้อยละ96.67 ลำดับที่2ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดประสบการณ์
คิดเป็นร้อยละ92.78 ลำดับที่3ด้านกิจกรรมในการจัดประสบการณ์ คิดเป็นร้อยละ91.67
โดยด้านบรรยากาศ เด็กปฐมวัยวัยมีความพึงพอใจสูงเท่ากันทั้ง2กลุ่ม
ข้อเสนอแนะเพื่อการนำไปใช้
1.จากการวิจัยพบว่า
การจัดประสบการณ์โดยใช้เกมส์กาศึกษาและเพลง
ทำให้เด็กมีความพร้อมทางคณิตศาสตร์สูงกว่าการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู
และมีความคิดเห็นระดับพอใจมากต่อการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมส์การศึกษาและเพลง
ดังนั้นสถานศึกษาควยเผยแพร่ แนะนำให้ครูผู้สอน มีการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมส์การศึกษาและเพลง
2.จากการวิจัย
พบว่า เกมส์การศึกษาและเพลงที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ ทำให้เด็กๆสนุกสนานและมีความสุข
กระตือรือร้นในการร่วมกิจกรรม
ดังนั้นครูผู้สอนจึงควรนำเกมส์การศึกษาและเพลงที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
ไปใช้ในการกระตุ้นให้เด็กสนใจที่จะเรียนรู้และจัดกิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมในการเรียนวิชหรือเนื้อหาสาระอื่นๆ