วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 วัน พุธที่ 15 กุมภาพันธ์ 2560


เนื้อหาที่เรียน/กิจกรรม
             
            วันนี้อาจารย์ได้ให้ไปดูนิทรรศการของพี่ปี่ 5 ที่นำมาแสดง
 Project Approach เรื่อง ในหลวง  โดยเด็กๆสนใจเรื่องข้าว เด็กโหวดกันว่าอยากทำไข่พระอาทิตย์ เป็นเมนูที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในรัชกาลที่9 ทรงประทานให้พระโอรสและพระธิดา ในการทำไข่พระอาทิตย์ได้มีการนำหลัก STAM เข้ามาใช้ทำให้เด็กๆได้เรียนรู้
S= Science     (วิทยาศาสตร์)  เด็กได้สังเกตการเปลี่ยนสถานะของไข่ จากของเหลวเป็นของแข็ง สังเกต รูป รส กลิ่น
T=Technology   (เทคโนโลยี)  เด็กได้มีการใช้กระทะไฟฟ้า
E= Engineering  (วิศวกรรมศาสตร์)  เด้กได้มีการออกแบบไข่พระอาทิตย์ของตัวเองว่าจะใส่อะไรบ้าง
M= Mathematics (คณิตศาสตร์) มีการใช้เครื่องปรุงที่เป็นสัดส่วน ใช้ปริมาณให้พอดีกับไข่


สื่อนวัตกรรมการสอน

              โดยสื่อแต่ละชิ้นจะมีความแตกต่างกันออกไป เน้นให้เด็กได้คิดควบคู่ไปกับการเล่น เช่นสื่อชุดสนุกไปกับตัวเลข โดยเด็กสามารถตั้งโจทย์เองได้ แต่ต้องเป็นจำนวนที่ไม่เกินสิบ เด็กตั้งโจทย์ได้ คิดคำนวนเองได้ หรือครูจะตั้งโจทย์ให้เด็กหาคำตอบเองก็ได้










สื่อนวัตกรรมการสอน

              โดยสื่อแต่ละชิ้นจะมีความแตกต่างกันออกไป เน้นให้เด็กได้คิดควบคู่ไปกับการเล่น เช่นสื่อชุดสนุกไปกับตัวเลข โดยเด็กสามารถตั้งโจทย์เองได้ แต่ต้องเป็นจำนวนที่ไม่เกินสิบ เด็กตั้งโจทย์ได้ คิดคำนวนเองได้ หรือครูจะตั้งโจทย์ให้เด็กหาคำตอบเองก็ได้






แผนการจัดการเรียนรู้                
                 โดยการเขียนแผนที่พี่ปี5นำมาจัดนิทรรศการนี้เป็นเรื่องของบัว มีการนำบัวมาประยุกต์ใช้กับกิจกรรม5ด้านของเด็กปฐมวัย โดยกิจกรรมกลางแจ้งนั้น เป็นการละเล่นของไทย เนื่องจากเป็นยโยบายของทางสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนมีการเขียนแผนที่แตกต่างกันไปจาก กทม. สพฐ. ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของผู้อำนวยการสถานศึกษา แต่ในแผนก็ไม่ได้ต่างกันมากเท่าไหร่นักมีส่วนที่เหมือน ส่วนที่ต่าง ถ้าดูจากรูปเล่มนั้นจะเห็นได้ว่า โรงเรียนเอกชนจะเล่มบางกว่าโรงเรียนสังกัด กทม.และ สพฐ. แต่อย่างไรแผนจัดการเรียนรู้นั้นจะต้องเน้นพัฒนาการทั้ง4ด้านของเด็กปฐมวัย







การประยุกต์ใช้ 

            เราสามารถนำความรูที่ได้จากพี่ๆปี5ไปใช้สอนเด็กๆในอนาคตได้ ไม่ว่าจะเป็น  Project Approach สื่อนวัตกรรมการสอน แผนการจัดการเรียนรู้



ประเมิน
     อาจารย์: อาจารย์ได้เปิดโอกาสที่ดีในการให้ไปดูนิทรรศการของพี่ๆเพื่อเป็นให้ได้ความรู่เพิ่มขึ้น
     ตนเอง: วันนี้รู้สึกชอบแผนการเรียนรู้มากที่สุด เนื่องจากว่าพี่ๆได้อธิบายชัดเจนและแนะนำแนวทางในการเขียนแผนเพิ่มเติม
     สิ่งแวดล้อม:  นิทรรศการของพี่ๆ มีการจัดวางอย่างเป็นระเบียบ มีสีสันสวยงามน่าดึงดูดให้                                

วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

            การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

วันพุธ ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560 


เนื้อหาที่เรียน/กิจกรรม

    สาระที่ 3 : เรขาคณิต

        - มาตรฐาน ค.ป. 3.1 รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
       - มาตรฐาน ค.ป. 3.2 รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ

                 ◙ ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง

          ▶ การบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทางของสิ่งของนั้นๆ
                
                  ◙ รูปเรขาคณิตสามมิติ และรูปเรขาคณิตสองมิติ

          ▶ ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก
          ▶ รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม
          ▶ การเปลี่ยนแปลง รูปเรขาคณิตสองมิติ
          ▶ การสร้างสรรค์งานศิลปะจากรูปเรขาคณิตสามมิติและสองมิติ

    สาระที่ 4 : พีชคณิต

        - มาตรฐาน ค.ป. 4.1 เข้าใจรูปแบบ และความสัมพันธ์




    สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
       - มาตรฐาน ค.ป. 5.1 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ

                       ✤ การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ

           ↷ การนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย


    สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
                       ↣ การแก้ปัญหา การใช้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

การประเมิน


- ตนเอง ตอบคำถามได้บางคำถาม แต่จะพยายามตอบให้ได้มากๆ

- อาจารย์ ยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้เข้าใจมากขึ้น

- สภาพแวดล้อม เงียบสงบ เหมาะแก่การเรียน



วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

วันอังคาร 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

เนื้อหาที่เรียน/กิจกรรม






วิเคราะห์สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย

ชื่อของสื่อ : เอ๊ะ! ตัวอะไรเอ่ย
เป็นสื่อประเภทเครื่องดนตรีเหมาะสำหรับเด็กอายุ 4 ปีขึ้นไปประโยชน์ของสื่อต่อพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
ด้านร่างกาย - พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก 
ด้านอารมณ์ - เกิดความสนุกสนาน 
ด้านสังคม - นำมาเล่นร่วมกับเพื่อนได้ 
ด้านสติปัญญา - ได้เรียนรู้เรื่องสัตว์ และการแก้ปัญหา

กระบวนการใช้สื่อประกอบการเรียนรู้
                 
          การเล่นในขั้นที่เด็กสามารถเข้าไปเล่นรวมกลุ่มกับผู้อื่นได้ โดยเริ่มจากกลุ่มเล็กๆไปสู่การเล่นกับเพื่อนเป็นกลุ่มใหญ่ และมีพฤติกรรมอย่างง่ายๆ ครูสามารถพัฒนาและจัดการเล่นในลักษณะที่สูงขึ้นได้โดยการให้เด็กเล่นเกมชนิดต่างๆ
เกม (Games)
เกมเป็นเครื่องจูงใจให้เด็กเรียนรู้อย่างสนุกสนาน ไม่มุ่งเน้นการแข่งขันหรือการหาผู้ชนะ
เกมการเล่น

  1. เกมช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางกาย
  2. เกมช่วยพัฒนาทักษะกลไกในการเคลื่อนไหว
  3. เกมช่วยสนับสนุนให้เด็กมีวุฒิภาวะทางอารมณ์
  4. เกมช่วยในการปรับตัวทางสังคม
  5. เกมช่วยพัฒนาการด้านการรับรู้ การคิด การแก้ปัญหา และการตัดสินใจ
เกมการศึกษา (Didactic of Cognitive Game)
เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนมีการสังเกตและคิดหาเหตุผลที่ดี ซึ่งทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะต่างๆ และมีกฎเกณฑ์หรือกติกากำหนดไว้ เน้นการพัฒนาด้านสติปัญญา
ประเภทของเกมการศึกษา

1. เกมจับคู่            






2. เกมภาพตัดต่อ          

     

3.เกมการวางภาพต่อปลาย (โดมิโน)



4. เกมการเรียงลำดับ เป็นภาพสิ่งของ เรื่องราว เหตุการณ์ตั้งแต่ 3 ภาพขึ้นไป




                                     
5. เกมจัดหมวดหมู่ ภาพสิ่งต่างๆที่นำมาจัดเป็นพวกๆตามความคิดของเด็กที่มีจำนวนตั้งแต่ 4 ชิ้นขึ้นไป  
   
       ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เกมจัดหมวดหมู่ ปฐมวัย

6. เกมหาความสัมพันธ์ระหว่างภาพกับสัญลักษณ์

         ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เกมหาความสัมพันธ์ภาพกับสัญลักษณ์ ปฐมวัย

7. เกมหาภาพที่มีความสัมพันธ์ตามลำดับที่กำหนด

               ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อนุกรม ปฐมวัย

8. เกมสังเกตรายละเอียดของภาพ (ล็อตโต)

          

                                                  

9. เกมหาความสัมพันธ์แบบอุปมาอุปไมย

   ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เกมการจับคู่ อนุบาล

10. เกมพื้นฐานการบวก

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เกมพื้นฐานการบวก อนุบาล
เพิ่มคำอธิบายภาพ
                    

11.เกมจับคู่แบบตารางสัมพันธ์ (เมตริกเกม)   

                           ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เมตริกเกม อนุบาล


ลักษณะที่ดีของเกมการศึกษา
  1. เป็นเกมง่ายๆ ไม่ซับซ้อน
  2. มีคำสั่งและกติกาในการเล่นที่ชัดเจน
  3. เป็นเกมสั้นๆ ไม่ควรใช้เวลาเกิน 15 นาที
  4. เป็นเกมที่ไม่เกิดความกังวลเกี่ยวกับผู้ชนะ
  5. ควรใช้อุปกรณ์ที่สามารถประดิษฐ์ขึ้นเองได้ง่ายๆ