วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 พุธ 25 มกราคม พ.ศ.2560

เนื้อหาที่เรียน/กิจกรรม


• ความรู้ที่ได้รับ
1.ความหมายของ " คณิตศาสตร์ "
- ศาสตร์ที่เกี่ยวกับการคำนวณ
- ศาสตร์ที่เกี่ยวกับการคิด วิเคราะห์และแก้ปัญหา
- ศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กับการดำรงชีวิตประจำวัน
2.ความสำคัญของ " คณิตศาสตร์ "
- เป็นเครื่องมือในการคิดอย่างมีระบบ มีเหตุมีผล และสามารถพิสูจน์ได้
- ทำให้เป็นบุคคลที่มีความละเอียด รอบคอบ สุขุม
3.ประโยชน์ของ " คณิตศาสตร์ "
- ช่วยให้รอดพ้นจากการถูกเอารัดเอาเปรียบ
- ช่วยให้เข้าใจเหตุและผล นำไปสู่การแก้ปัญหาต่างๆในชีวิตประจำวัน
- ช่วยให้เข้าใจกระบวนการคิดและวิเคราะห์
- ช่วยในการตัดสินใจ
4.ทักษะพื้นฐานทาง " คณิตศาสตร์ "
ตัวอย่างเช่น
- การนับ
- การคำนวณ
- เรขาคณิต
- การเรียงลำดับ
- การเปรียบเทียบ
- การตวงวัด
- การจัดกลุ่ม
- เวลา
- แบบรูป
5.ความสำคัญของทักษะพื้นฐานทาง" คณิตศาสตร์ "
- ช่วยให้รู้จักการแก้ปัญหา
- ช่วยฝึกทักษะการสังเกตและเปรียบเทียบ
- ช่วยขยายประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ให้มีความสอดคล้องจากง่ายไปยาก
- ช่วยให้เข้าใจความหมายของสัญลักษณ์ต่างๆ
*** กระบวนการที่นำไปสู่ความสำเร็จของเป้าหมายนั้น  อาจมีได้หลากหลายวิธีขึ้นอยู่กับกระบวนการคิดของแต่ละบุคคล และการเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสม
• การประเมินผล
ตนเอง : ในคาบนี้ได้ร่วมปฏิบัติกิจกรรมในห้องเรียน ร่วมตอบคำถาม แสดงความคิดเห็นเมื่ออาจารย์เปิดโอกาส แต่ไม่ได้ทำการจดบันทึกความรู้เนื่องจากประสบอุบัติเหตุที่มือ ทำให้เรียนรู้ได้ไม่ดีเท่าที่ควร
อาจารย์ : มีการเน้นยำ้ประเด็นสำคัญ เน้นให้นักศึกษาฝึกกระบวนการคิด วิเคราะห์ อยู่ตลอดเวลา ทำให้นักศึกษามีความตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา สามารถตอบคำถามและข้อสงสัยของนักศึกษาได้

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่3
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันพุธ ที่25 มกราคม 2560

เนื้อหาที่เรียน/กิจกรรม


คณิตศาสตร์
ความหมาย เป็นการคำนวณทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ มีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของมนุษย์
ความสำคัญ สร้างสรรค์คนให้มีนิสัยละเอียดสุขุมรอบคอบและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
ประโยชน์ -พัฒนาตนเองทำให้สังเกต รู้จักการเปรียบเทียบ การตัดสินใจ
               -คิดในเชิงคณิตศาสตร์มากขึ้น คิดเป็นระบบ แก้ไขปัญหาได้
               -มีความละเอียดรอบคอบมากขึ้น
พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ กระบวนการคิดและการพัฒนาความสามารถในด้านต่างๆ 
1. การนับ
2. ตัวเลข
3. จับคู่
4. จัดประเภท
5. เปรียบเทียบ
6. จัดลำดับ
7. รูปทรง
8. วัด
9. เซต
10. เศษส่วน
11. การทำตามแบบ
12. อนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ
ตัวอย่าง 
ได้เวลาตื่นนอนหรือยังนะ ?
มันยังมืดตึ้นตื๋ออยู่เลย...ต๊องหน่อง
   พี่ชายฉันตื่นนอนหรือยังเอ่ย ?
เด็กได้เรียนรู้เรื่อง เวลา การคิดอย่างมีเหตุผล

   จัดเก็บเสื้อผ้าและใส่ตู้ให้ถูกที่
เด็กได้เรียนรู้เรื่อง จัดหมวดหมู่ จับคู่การตัดสินใจ

             รับประทานอาหารเช้า/เเละช่วยให้อาหารแมว
    ต้องไม่ให้มากเกินไป/พอหรือยังนะ
เด็กได้เรียนรู้เรื่อง ตัดสินใจ ประมาณเวลา คาดคะเน

แนวทางในการส่งเสริมทักษะ
1. ศึกษาและทำความเข้าใจหลักสูตร 
2. ศึกษาพัฒนาการด้านต่างๆ ความต้องการและความสามารถของเด็กปฐมวัย

***ภาษาคณิตศาสตร์ เป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้***


การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

     การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย ได้เหมาะสมกับพัฒนาการและความพร้อมของเด็กปฐมวัย
ตัวอย่าง ให้เด็กออกแบบชื่อของตนเอง และให้เด็กๆนำชื่อของตนเองมาติดบนกระดาษ ซึ่งจะมีเกณฑ์ในการติดคือ ใครตื่นนอนก่อน 06:00 (เกณฑ์ที่ใช้ควรมีเกณฑ์เดียวเท่านั้น เพื่อไม่ให้เด็กสับสน)

เด็กจะได้เรียนรู้เรื่อง -การเเยกกลุ่ม
                             -เวลา
                             -นับจำนวน
                             -เปรียบเทียบ การน้อยกว่า มากกว่า

ประเมิน


อาจารย์ : สอนเข้าใจง่าย มีการถามเพื่อให้นักศึกษาใช้ความคิด มีเพลงมาสอนร้องเพื่อการผ่อนคลายในการสอน 
เพื่อน    : สนุกกับการสอน ตอบคำถามได้มากขึ้น
ตนเอง   : เข้าใจเนื้อหาได้มากขึ้น 

วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันพุธ ที่11 มกราคม .ศ.2560

เนื้อหาที่เรียน/กิจกรรม


ความหมายของพัฒนาการ
พัฒนาการคือ การแสดงความสามารถพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่องที่มีอายุเป็นตัวกำกับ
ความสำคัญของพัฒนาการ
คือ การแสดงความสามารถเด็กที่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่องทำให้จัดประสบการณ์ได้อย่างเหมาะสม
ความหมายของการเรียนรู้
การเรียนรู้คือ การลงมือปฏิบัติจริงด้วยประสาทสัมผัสทั้ง5 ด้วยตัวเองอย่างอิสระ ที่สามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง

เด็กแรกเกิด - 2ปี (Sensorimotor Stage)
พัฒนาการใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ ตาดู หูฟังลิ้นชิมรส กายสัมผัส และเก็บข้อมูล
เด็ก2ปี - 7ปี (Preperational Stage)
ใช้ภาษาพูดแสดงความคิด
เล่นบทบาทสมมติ พื้นฐานพัฒนาความเข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรมมากขึ้น

"ปรับโครงสร้าง เป็นความรู้ใหม่ เพื่อความอยู่รอด"

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
การที่เรารู้พัฒนาการของเด็ก ทำให้เราสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็กได้เหมาะสมกับวัย

วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
วัน พุธที่ 5 มกราคม 2560

เนื้อหาที่เรียน/กิจกรรม
                  
             วิเคราะห์ชื่อวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เป็นการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยและประสบการณ์นั้นก็คือ คณิตศาสตร์ จากนั้นอาจารย์ให้เขียนจุดมุ่งหมายที่คาดหวังในวิชานี้ โดยจุดมุ่งหมายของฉันมี3ข้อ 1.มีความรู้ความเข้าใจในการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมากว่าเดิม 2.สามารถจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้อย่างถูกต้องตามกระบวนการ 3.สามารถนำความรู้ความเข้าใจที่ได้เรียนมาไปปฏิบัติใช้จริง อาจารย์ได้สอนทักษะการวิเคราะห์  พัฒนาการคือ ขั้นตอนที่เด็กมีการเปลี่ยนแปลงไปแต่ละขั้น โดยมีอายุเป็นตัวกำหนด และการที่ที่จะรู้ว่าเด็กนั้นมีพัฒนาการที่เปลี่ยนไป อาจดูได้จากแบบประเมิน แสดงความคิดเห็นเพื่อหาคำตอบร่วมกัน


ประเมิน
           อาจารย์ : อาจารย์ดูอารมณ์ดีและเข้าใจนักศึกษาเป็นอย่างดี มีการให้นักศึกษา แสดงความคิดเห็นเพื่อหาคำตอบร่วมกัน
           ตนเอง : วันนี้รู้สึกสนุกสนานที่ได้มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม และรู้สึกตื่นเต้นที่ได้เรียนกับอาจารย์ครั้งแรก อาจารย์ใจดีเลยทำให้กล้าที่จะตอบคำถาม
           สิ่งแวดล้อม: สถานที่เรียนใหม่ บรรยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อนทุกคนดูสนุกสนาน ห้องเรียนเต็มไปด้วยเสียงหัวเราะ